วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จำหน่ายอาหารสัตว์หน้าโรงงาน

อาหารหน้าโรงงานเบทาโกรและโรงงานท๊อปฟีดส์
ราคาอาหารเป็นราคาหน้าตั๋วหน้าโรงงาน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการนำไปจำหน่ายต่อและเหมาะสำหรับฟาร์มที่ต้องการลดต้นทุนในเรื่องของค่าอาหารสัตว์ สนใจติดต่อได้ที่ 089-8119389 เค
ยินดีให้บริการครับ

การเลี้ยงโคนม

การเลี้ยงดูลูกโค
ก่อนที่จะพูดถึงการเลี้ยงลูกโค ควรจะทำความรู้รู้จักกับนมน้ำเหลืองก่อน นมน้ำเหลือง คือน้ำนมที่ผลิต ออกมาจากแม่โคในระยะแรกคลอดจะผลิตออกมานานประมาณ 2-5 วัน ต่อจากนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นนมธรรมดา ลักษณะของนมน้ำเหลืองจะมีสีขาวปนเหลือง มีรสขม มีคุณสมบัติคือ จะมีภูมิคุ้มโรค อีกทั้งช่วยป้องกันโรคที่ เกิดกับระบบลำไส้และผิวหนังและยังเป็นยาระบายท้องอ่อน ๆ ของลูกโคได้อีกด้วย มีคุณค่าทางอาหารสูงเมื่อ ลูกโคคลอดมาใหม่ ๆ ควรแยกลูกโคออกจากแม่โคทันที และควรจะให้กินนมน้ำเหลืองจากแม่โคภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงโดยเร็ว ลูกโคควรได้กินนมน้ำเหลืองราว 2-5 วัน ให้กินวันละ 2 เวลา เช้า, เย็น

วิธีการฝึกให้ลูกโคกินนม

อาจฝึกได้โดยให้ลูกโคกินนมจากถังพลาสติกหรืออะลูมิเนียมหัดให้กินโดยใช้นิ้วมือจุ่มลงในน้ำนมให้เปียก แล้วแหย่เข้าไปในปากลูกโคให้ลูกโคดูด แล้วกดหัวลูกโคให้ปากจุ่มลงไปในน้ำนม ลูกโคจะดูดนิ้วมือ ขณะเดียวกันน้ำนมก็จะไหลเข้าไปได้หัดดูดนิ้วมือเช่นนี้ประมาณ 3-4 ครั้งต่อ ๆ ไปจึงค่อย ๆ ดึงนิ้วมือออก ปล่อยให้ลูกโคดูดกินเองต่อไป ทำเช่นนี้ประมาณ 1-3 วัน ลูกโคก็จะค่อย ๆ เคยชิน สามารถดูดจากถังเองได้
วิธีเลี้ยงลูกโคระยะแรกอาจปฏิบัติได้ดังนี้


นมแม่ ให้ลูกโคกินต่อหลังจากนมน้ำเหลืองหมดจนลูกโคอายุได้ 1 เดือน (4 สัปดาห์) แล้วจึงให้กินนมเทียม หรือนมผงละลายน้ำต่อจนอายุได้ 3-4 เดือน (12-16 สัปดาห์) จึงหย่านม
นมเทียม หรือนมผงละลายน้ำ สำหรับการเลี้ยงลูกโคเพศเมีย ควรให้กินต่อจากนมแม่เมื่ออายุได้ 1 เดือน (4 สัปดาห์) แต่สำหรับลูกโคเพศผู้ ควรให้กินนมแม่อย่างน้อย 1 สัปดาห์ จึงเริ่มให้กินนมเทียมหรือนมผง ละลายน้ำ และให้กินต่อไปจนหย่านมหรืออายุได้ประมาณ 3-4 เดือน (12-16 สัปดาห์)

หมายเหตุ การเลี้ยงดูลูกโคนมดังกล่าวมาแล้ว เป็นการเลี้ยงดูลูกโคแบบ "ให้นมจำกัดหรือให้อาหารข้น ลูกโคอ่อน" ไม่ว่าเลี้ยงดูด้วยนมแม่หรือนมเทียมกล่าวคือ การให้นมควรจะให้ในปริมาณที่เกือบคงที่ตลอดไป คือประมาณ 10% ของน้ำหนักตัว ตัวอย่างเช่น ลูกโคเกิดมามีน้ำหนัก 30 กิโลกรัม ก็ให้นมวันละ 3-4 กิโลกรัม ตลอดไปโดยแบ่งให้เข้า 2 กิโลกรัม บ่าย 2 กิโลกรัม จนอายุหย่านมในขณะเดียวกันควรตั้งอาหารข้น สำหรับลูกโคและหญ้าแห้งคุณภาพดีวางไว้ให้ลูกโคได้ทำความรู้จักและหัดกิน ตั้งแต่ลูกโคอายุได้ 1 สัปดาห์ จนถึง 12 สัปดาห์ต่อจากนั้นให้กินหญ้าสด วิธีการดังกล่าวเป็นการหัดโดยการบังคับให้ลูกโค ช่วยเหลือตัวเอง โดยเร็วที่สุดเป็นวิธีการที่ประหยัดนมแม่โคได้มาก และรวมทั้งนมเทียมด้วย เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการเลี้ยงดู ลูกโค
อนึ่ง สำหรับวิธีการผสมนมเทียม หรือนมผงละลายน้ำเราอาจใช้การผสมในอัตราส่วน 1 ต่อ 7 ถึง 10 ส่วน แต่ที่นิยมใช้คือ 1 ต่อ 8 หรือ 1 ต่อ 9 ส่วน ตัวอย่างเช่นถ้าใช้นมผง 1 กิโลกรัมก็ต้องผสมน้ำ 8 กิโลกรัม หรือ ถ้าใช้นมผง ฝ กิโลกรัม ก็ต้องผสมน้ำ 4 กิโลกรัม ในการผสมแต่ละครั้งควรคนให้เข้ากัน และต้องเติมน้ำมัน ตับปลาหรือวิตามินลงไปด้วยการผสมนมผผงแต่ละครั้งมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับท่านมีลูกโคจำนวนมาก น้อยเพียงใด


การทำเครื่องหมาย
ลูกโคที่เกิดออกมาโดยมีพ่อและแม่พันธุ์เดียวกัน พ่อตัวเดียวกันก็ย่อมจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เมื่อโตขึ้น อาจจะสัตว์ไม่ได้ หรือจำผิดพลาดได้ว่าเกิดเมื่อไร พ่อแม่ชื่ออะไร หรือเบอร์อะไร และเมื่อทำการซื้อ-ขาย จะทำประวัติก็เป็นการยุ่งยากลำบาก ดังนั้นลูกโคจึงจำเป็นที่จะต้องทำเครื่องหมายเพื่อแสดงให้ทราบว่าเกิดจากพ่อแม่พันธุ์อะไร เบอร์อะไร เมื่อไหร่ ซึ่งจะเป็นการสะดวกในการทำประวัติ และป้องกันรักษาโรค ซึ่งอาจทำได้หลายวิธีด้วยกันอาทิเช่น ทำเครื่องหมายโดยตัดหู ตีเบอร์ติดหู ตีเบอร์ไฟ หรืออื่น ๆ เป็นต้น และเมื่อลูกโคอายุได้ประมาณ 3-6 สัปดาห์ หรือประมาณ 1-2 เดือน ก็ควรทำการจี้เขาเพื่อทำไม่ให้มีเขาอันจะเป็นอันตรายต่อฝูงโคหรือเจ้าของสัตว์เองได้


การเลี้ยงโครุ่น-โคสาว
เมื่อลูกโคอายุได้ 4 เดือน ระบบการย่อยได้พัฒนาดีขึ้นในช่วงนี้อัตราการตายจะต่ำ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าพ้นช่วงระยะอันตรายแล้วจากระยะนี้ถึงระยะโครุ่น คืออายุประมาณ 180-205 วัน ( น้ำหนักประมาณ 120-150 กิโลกรัม ) ซึ่งระยะนี้ถึงระยะโครุ่น คืออายุประมาณ 180-205 วัน (น้ำหนักประมาณ 120-150 กิโลกรัม) ซึ่ง ระยะนี้โคจะสามารถกินหญ้าได้ดีแล้ว จากนั้นก็จะถึงระยะการเป็นโคสาว (น้ำหนักประมาณ 200-250 กิโลกรัม) ต่อไปก็จะถึงระยะเกณฑ์ผสมพันธุ์ คืออายุได้ประมาณ 18-22 เดือน (น้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม หรือประมาณ 60-70% ของน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่) ในช่วงดังกล่าวนี้ โคจะเจริญอย่างรวดเร็ว ควรเพิ่มอาหารผสมให้บ้างเป็นวันละ 1-2 กิโลกรัม และให้หญ้ากินเต็มที่ ในกรณีที่เลี้ยงแบบปล่อยลงใน แปลงหญ้าก็จะเป็นการดียิ่งขึ้น เพราะโคได้ออกกำลังกายและยังเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและแรงงาน ได้มากอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามในการให้อาหารผสม (อาหารข้น) แก่โครุ่น-โคสาว ในปริมาณมากน้อย เท่าใดนั้นให้พิจารณาถึงคุณภาพของหญ้าที่มีอยู่ในขณะนั้นเป็นสำคัญ


การเลี้ยงและดูแลโครีดนม
แม่โคจะให้นมหรือมีน้ำนมให้รีดก็ต่อเมื่อหลังจากคลอดลูกในแต่ละครั้งซึ่งจะให้นมเป็นระยะยาว, สั้น มากน้อยต่างกกันขึ้นกับความสามารถของแม่โคแต่ละตัว, พันธุ์และปัจจัยอื่น ๆ อีก แต่โดยทั่วไปจะรีดนม ได้ประมาณ 5-10 เดือน นมน้ำเหลืองควรจะรีดให้ลูกโคกินจนหมดไม่ควรนำส่งเข้าโรงงานเป็นอันขาดและ ควรให้อาหารแก่นมโคอย่างเพียงพอเพื่อแม่โคจะได้ไปสร้างน้ำนมและเสริมสร้างร่างกายส่วนอื่น ๆ ที่ยังไม่ สมบูรณ์ได้อย่างเพียงพอ ภายหลังจากคลอดลูกโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 30-70 วันหลังจากคลอดมดลูกจะ เริ่มกลับเข้าสู่สภาพปกติ แม่โคจะเริ่มเป็นสัดอีกแต่อย่างไรก็ตามเมื่อแม่โคแสดงอาการเป็นสัดภายหลังคลอด น้อยกว่า 25 วันยังไม่ควรให้ผสม เพราะมดลูกและอวัยวะต่าง ๆ ในระบบสืบพันธุ์เพิ่งฟื้นตัวใหม่ ๆ ยังไม่เข้าสู่ สภาพปกติ ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ควรจะรอให้เป็นสัดครั้งที่ 2 เกิดขึ้นจึงค่อยผสมซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะใช้ เวลาประมาณ 45-72 วัน หลังจากคลอด

การเลี้ยงโคเนื้อ

การเลี้ยงโคเนื้อ

คอกโคที่ดี ไม่ต้องแพงแต่ต้องถูกหลักการ แข็งแรง ประหยัด สะอาดแห้งไม่เปียกแฉะ โคนอนได้ตลอดคืน ถ้าคอกแฉะโคจะไม่นอน ไม่ขังรวมกับควาย ให้พื้นลาดเอียงระบายน้ำดีมาก พื้นไม่แข็งกระด้าง พื้นที่คอก 12-24 ตร.ม./ตัว

รางอาหาร ไม่ต้องยกสูงให้ติดพื้นแต่กันขี้วัวไม่ให้ปนเปื้อนหญ้าและอาหาร ความยาวรางอาหาร 30 ซม./ตัว

มีอ่างเกลือแร่โดยใช้เกลือป่น 70 กก.+ ไดแคลเซียมฟอสเฟต 29 กก.ผสมหัวแร่ธาตุ 1 กก. (พรีมิกซ์)

มีอ่างน้ำสะอาดให้ดื่มตลอดเวลา คอกต้องกันฝนได้ป้องกันคอกเปียกแฉะ (หากต้องการทำแร่ธาตุก้อน เพียงผสมกากน้ำตาลกับน้ำพอเหลวดี พรมกองเกลือแร่พอหมาด แล้วอัดในบล็อกให้แน่น หรือใช้น้ำแป้งเปียกอย่างเหลว แทนกากน้ำตาลเหลวก็ได้ อัดแล้วตากให้แห้ง)

หลักการผสมโคให้ติดลูกดี แม่โคที่เลือกมาเลี้ยงต้องโครงร่างใหญ่เคยมีลูกแล้ว เลือกพ่อพันธุ์ดีผผสม พ่อพันธุ์ดีคือให้ลูกเหมือนพ่อมากที่สุด ดังนั้นแม่ไม่สวยก็ให้ลูกงามถ้าเชื้อพ่อแรง หลังคลอดแม่โคควรจะกลับมาเป็นสัด ภายใน 60-90 วัน ควรบำรุงแม่โคก่อนคลอด 2 เดือนจะทำให้นมดีกลับเป็นสัดเร็วผสมได้เร็ว ปกติผสมเทียมถ้าผสมถูกต้องตามหลักจะดีกว่าผสมจริง ลดปัญหาติดเชื้อ ปัญหาพ่อใหญ่แม่เล็ก ผสมวัวอย่าหลงคำโฆษณาชวนเชื่อ!!

หลักการผสมเทียมโค คือ "เห็นการเป็นสัดเช้าให้ผสมในช่วงบ่าย 3-4 โมง เห็นการเป็นสัดบ่ายควรผสมในช่วงเช้า 7-8 โมง และเห็นการเป็นสัดตอนเย็นควรผสมก่อนเที่ยงวัน" แต่หากเห็นการเป็นสัดช่วงประมาณเที่ยงคืนถึงตี 4 ควรผสมในเช้าวันนั้น สรุปช่วงเวลาที่ผสมติดดีที่สุดคือ 12-18ชั่วโมง หลังจากเริ่มเป็นสัด ผสมเทียม 2 ครั้งไม่ติดลองผสมจริงถ้าไม่ติดควรคัดแม่โคขายทิ้ง เมื่อโคผสมพันธุ์จนติดแล้วจะอุ้มท้องเฉลี่ยประมาณ 282 วัน หากไม่ติดหลังผสมแล้ว 21 วันจะกลับเป็นสัดอีกคือแม่โคที่ปกติดีจะเป็นสัดทุกๆ 21 วัน แต่ละครั้งแม่โคจะเป็นสัดนาน 24-36 ชม.เวลาผสมที่เหมาะสมเป็นหัวใจของการผสมติด!!!

อาหารโค

อาหารหยาบ เป็นอาหารหลักได้แก่หญ้า-ฟาง มีให้พอกินทุกวัน โคใหญ่กินหญ้าสดวันละ 30-40 กก. อาหารหยาบที่ดีคือพืชตะกูลถั่วมีโปรตีนสูงกินแล้วโตเร็ว เช่นถั่วฮามาต้า ใบกระถินสด หรือใบกระถินแห้ง ควรให้หญ้าผสมใบถั่วดีที่สุด อาหารขัน เป็นอาหารเสริมให้โค ได้แก่อาหารสำเร็จรูป อาหารผสม ให้กินวันละ 1-2 กก.ในหน้าแล้ง ในหน้าฝนหญ้าสมบูรณ์ไม่จำเป็น แม่โคผอม ควรเสริมอาหารข้นก่อนคลอด 1-2 กก./แม่/วัน จะให้นมดีลูกสมบูรณ์แม่เป็นสัดเร็ว อย่าเร่งอาหารข้นก่อนคลอดนานจะทำให้คลอดยากเพราะลูกโคตัวใหญ่เกินไป อาหารข้นสูตรชนบท หัวอาหารหมูรุ่น 20กก+ รำโรงสีเล็ก 80 กก. +เกลือ 2 กก. หรืออาจให้กินอาหารข้นเดี่ยวเช่น รำ มันเส้น ข้าวเปลือก ข้าวโพดบด วันละ 2 กก./ตัว/วัน หรือ มันสำปะหลังสับทั้งต้นและใบปนกันตากแห้ง ราดด้วยกากน้ำตาลผสมเกลือพอได้รสชาดก็เป็นอาหารเสริมได้เป็นอย่างดี ใบกระถินสดกินได้เต็มที่คุณค่าทางอาหารดีมาก หลังคลอดเป็นระยะเร่งอาหารบำรุงแม่โค

ฟางหมักหรือฟางปรุงแต่ง

วิธีเพิ่มการย่อยได้ของฟางและคุณค่าทางอาหารให้ฟางธรรมดาๆ ให้เป็นอาหารชั้นดีสำหรับโค

วิธีการ นำฟางแห้ง 100 กก. + น้ำ 60-100 ลิตรละลายปุ๋ยยูเรีย(46-0-0)4 กก. เหยียบฟางในถังปูน(ปลอกส้วม)ให้แน่น รดน้ำผสมยูเรียที่เตรียมไว้ให้พอชุ่ม เหยียบให้แน่นเป็นชั้นๆจนเต็มถัง คลุมด้วยผ้ายาง หรือผ้าพลาสติกให้มิดชิด เอาของหนักๆทับไว้ 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป ทยอยเปิดให้วัวกิน ราดกากน้ำตาลผสมเกลือเล็กน้อยพอมีรสชาด ถือว่าเป็นอาหารหยาบอย่างดีสำหรับโคในหน้าแล้ง อย่า!! ให้โคกินปุ๋ยยูเรียโดยตรงอาจท้องอืดถึงตายนะจะบอกให้!!

อาหารโคต้องเน้นต้นทุนต่ำ การปลูกสร้างแปลงหญ้าเองอาจไม่ได้อาหารราคาถูกเสมอไป ควรใช้สิ่งที่หาได้ในพื้นที่ เลี้ยงโคต้องมีฟางสำรองให้เพียงพอตลอดเวลา !!!

น้ำสะอาด ต้องมีให้โคดื่มอย่างเพียงพอ ระวังโคขาดเกลือ!!!!

การดูแลลูกโค

-เมื่อลูกโคอายุ 3 สัปดาห์ ควรถ่ายพยาธิตัวกลม และถ่ายซ้ำอีกเมื่ออายุ 6 สัปดาห์

-ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแท้งติดต่อ (บรูเซลโลซีส) แก่ลูกโคเพศเมีย อายุ 3 - 8 เดือน

-เมื่อลูกโคอายุ 4 เดือน ทำการฉีดวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อยและทุกๆ 4-6 เดือน

-ฉีดวัคซีนโรคคอบวมทุกๆ 6เดือน

- ลูกโคตัวผู้ที่ไม่ต้องการใช้ทำพันธุ์ ควรตอนเมื่ออายุประมาณ 5 - 6 เดือน

-ควรหย่านมลูกโคที่อายุประมาณ 6 เดือนครึ่ง ถึง 7 เดือนน้ำหนักประมาณ 180 กก.ลูกโคที่ขนหยอง แสดงว่าแม่มีนมไม่พอเลี้ยงลูก ควรรีบหย่านมนำมาเลี้ยงดูเอง หย่านมช้าแม่โคโทรม

-การผสมนมให้ลุกโคที่แม่ไม่มีนมให้ใช้หางนมผงเลี้ยงสัตว์ 1 กก. น้ำสุก 8 ลิตร ให้กินวันละไม่น้อยกว่า 4 ลิตร/ตัว/วัน

-การหย่านมโดยแยกลูกโคจากแม่ นำไปขังในคอกที่แข็งแรง ควรให้แม่โคอยู่ในแปลงหญ้าหรือคอกที่มีรั้วกั้นซึ่งอยู่ใกล้กันเป็นเวลา 3 - 5 วัน เพราะหากให้ไปอยู่ไกลแม่โคบางตัวอาจจะแหกรั้วไปหาลูก

-โคสาวที่คลอดลูกตัวแรกที่อายุ 2 ปีประมาณเกือบ 50% อาจต้องช่วยเหลือ หากถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว 2 ชั่วโมง ลูกยังไม่คลอดออกมาควรให้การช่วยเหลือโดยสัตวแพทย์หรือผู้มีความรู้ประสบการ การฉีดวิตามินบำรุงแนะนำให้ฉีด วิตามิน “เอดีอี”5 ซีซี เข้ากล้าม 1 เดือนก่อนผสมและ 1 เดือนก่อนคลอดเป็นการบำรุงระบบสืบพันธุ์ หรือบำรุงแม่โคที่กินฟางนานๆ

ควรใช้อีเอ็มราดคอกทุกๆสัปดาห์ คอกไม่เหม็นโคสุขภาพดี ได้ปุ๋ยชีวภาพสุดยอดของแท้ (อีเอ็ม 1 ลิตร ต้องขยายก่อนโดย + น้ำสะอาด 20 ลิตร + กากน้ำตาล 1 ลิตร หมักในถังไว้ประมาณ 7-10 วันนำไปใช้ได้)

พันธุ์ดี + อาหารดี + ดูแลดี คือหัวใจของความสำเร็จในการเลี้ยงโค


การเลี้ยไก่ไข่

การเลี้ยงไก่ไข่
03-11-2007 Views: 83695

การเลี้ยงไก่ไข่เพื่อให้ขนาดไข่ได้ขนาดฟองโต อายุการให้ไข่นาน ประสิทธิภาพการใช้อาหารเพื่อผลิตไข่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดโรคแทรกซ้อนน้อย อัตราการตายต่ำกว่าและอัตราการคัดทิ้งต่ำ สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดการเลี้ยงดูเอาใจใส่เป็นอย่างดีตั้งแต่ลูกไก่ ไก่เล็ก ไก่รุ่น ไก่สาวนั่นเอง ดังนั้นไก่ไข่หรือก่อนให้ไข่ถือว่าเป็นช่วงที่การลงทุนสูงที่สุดแล้ว เพราะระยะต่อจากนี้ไปต้นทุนการผลิตจะเริ่มลดน้อยถอยลงตามอายุของการให้ไข่ ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องอาศัยความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ เพื่อให้ไก่ไข่นั้นให้ผลผลิตสูงเป็นระยะเวลาที่นานที่สุดนั้นก็หมายความว่า ผู้เลี้ยงจะได้ค่าตอบแทนสูงนั่นเอง

ความพร้อมของโรงเรือนและอุปกรณ์

การเลี้ยงไก่เพื่อให้ผลผลิตสูงสุด ก่อนที่ไก่ไข่จะให้ผลผลิต 2-4 สัปดาห์ ฝูงไก่รุ่นควรจะย้ายออกจากโรงเรือนเดิม (ไก่เล็กหรือไก่รุ่น ไก่สาว) ไปเลี้ยงในโรงเรือนไก่ไข่ โรงเรือนไก่ไข่ที่ดีควรมีการถ่ายเทอากาศดี ไม่ร้อนอบอ้าว โดยมีขนาดความกว้างประมาณ 6-8 เมตร ส่วนความยาวของโรงเรือนจะมีกรงตับ รางน้ำ รางอาหารที่ปฏิบัติงานสะดวกรวดเร็วและทำความสะอาดได้ง่าย ซึ่งผู้เลี้ยงจำเป็นต้องเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในโรงเรือนโดยล้างทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรคภายในโรงเรือนและรอบนอกของโรงเรือน พร้อมมีระยะพักโรงเรือนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนย้ายเข้าภายในโรงเรือน
ในกรณีเลี้ยงแบบปล่อยพื้นก็ไม่จำเป็นต้องย้ายไก่ไข่อยู่โรงเรือนใหม่ก็ได้ ไก่จะไม่ต้องปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่อุปกรณ์ที่ต้องเพิ่มเข้าไปนอกจากรางน้ำ รางอาหารที่มีอย่างเพียงพอแล้วก็คือ รังไข่ โดยนำรังไข่ (nest) ใส่ในตอนช่วงอายุประมาณ 18-20 สัปดาห์ หรือก่อนที่ไก่จะให้ผลผลิต 2-4 สัปดาห์ เพื่อให้ฝูงไก่เหล่านั้นคุ้นเคย อัตราส่วนของรังไข่ (nest) ต่อจำนวนไก่คือ 1 รัง ต่อจำนวนไก่ไข่ 5-6 ตัว หากเป็นรังไข่ที่ใช้แล้วก็ต้องทำความสะอาดเช่นกัน โดยผูกหรือตั้งเรียงรายให้ทั่วโรงเรือนเพื่อมิให้เกิดปัญหาไก่แย่งรังไข่กัน ทำให้ไข่เปลือกบุบหรือแตกเกิดความเสียหาย
ส่วนการเลี้ยงแบบกรงตับซึ่งต้องมีการขนย้ายจากโรงเรือนเดิม เข้าสู่โรงเรือนไก่ไข่นั้น ก่อนที่จะมีการย้าย 1-2 สัปดาห์ ควรให้อาหารและน้ำอย่างเต็มที่แก่ฝูงไก่เหล่านั้น โดยการเพิ่มอุปกรณ์ใส่น้ำและอาหารมากขึ้น เพื่อให้ไก่กินน้ำและอาหารได้อย่างเต็มที่มากขึ้น พร้อมกับการละลายยาปฏิชีวนะและไวตามินลงในน้ำดื่มให้กับฝูงไก่ก่อนการขนย้ายด้วย วิธีการขนย้ายควรทำในเวลากลางคืนอากาศเย็นสบาย จะลดการตื่นเต้นตกใจของไก่ ขนย้ายด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน และไม่ควรใส่ไก่ในกรงแน่นเกินไป เพราะการย้ายฝูงไก่ดังกล่าวเข้าโรงเรือนไก่ไข่ ผลกระทบต่อการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ไก่จะเกิดสภาวะเครียดสูงมาก และควรคัดไก่ที่มีลักษณะไม่สมบูรณ์ ไก่แคระแกร็น หรือพิการออกด้วย

ปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องต่อการให้ไข่

ปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการให้ไข่ของไก่มีหลายปัจจัย คือ
อุณหภูมิ (Temperature) ไก่เป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ การระบายความร้อนออกจากร่างกายไม่สามารถระบายออกทางผิวหนังเหมือนคนเรา ดังนั้นการระบายความร้อนออกจากร่างกายโดยหายใจเอาอากาศเข้าไปในปอด เข้าถุงลม ส่วนน้ำที่ไก่กินเข้าไปบางส่วนจะระเหยรวมออกมากับอากาศที่ไก่หายใจออก เนื่องจากร่างกายไก่ไม่มีความร้อน (การระเหยของน้ำเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร้อน) ดังนั้นการหายใจก็จะนำความร้อนออกมาด้วย ซึ่งการควบคุมอุณหภูมิในร่างกายของไก่ โดยมีต่อม Hypothararmus ต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่เสมือนศูนย์ควบคุมการปรับอุณหภูมิของร่างกายไก่ในระดับที่ค่อนข้างคงที่ถ้าอุณหภูมิสูงร่างกายจำเป็นต้องระบายความร้อนออกจากร่างกาย เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกายลงโดยการอ้าปาก หอบ กางปีก กินน้ำมากขึ้น ถ่ายเหลว และกินอาหารน้อยลง แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำร่างกายจำเป็นต้องสร้างความร้อนเพื่อชดเชย โดยห่อตัวนอนสุมชิดกันเป็นกลุ่ม หรือนอนโดยเอาหัวซุกไว้ที่ปีก กินอาหารเพิ่มขึ้น อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงไก่ไข่ หรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงจะอยู่ระหว่าง 1-27 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่าการให้ไข่จะลดลง เปลือกไข่บาง ไข่มีลักษณะเล็กลง ไก่จะกินน้ำมากขึ้นและอาหารน้อยลง ถ้าอุณหภูมิต่ำเกินไปประสิทธิภาพการใช้อาหารลดลง เพราะอาหารที่กินจะต้องนำไปสร้างความอบอุ่นแก่ร่างกายมากขึ้น ปริมาณการไข่ก็จะลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างกระทันหัน ไม่ว่าสูงหรือต่ำ จะมีผลกระทบต่อการไข่ของไก่รุนแรงกว่าการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะไก่สามารถปรับตัวได้นั่นเอง
การถ่ายเทหรือการระบายอากาศ (Ventilation) โรงเรือนไก่ไข่สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการระบายอากาศ หากสร้างโปร่ง การหมุนเวียนถ่ายเทอากาศดี อากาศเสียจะถูกขับออกนอกโรงเรือนและอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกจะเข้าไปแทนที่ โดยนำความร้อนจากภายในโรงเรือนออกไปด้วย นอกจากนั้นจะเป็นการลดปริมาณเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งไก่ก็สามารถทนได้ แต่ถ้าการระบายอากาศไม่ดีสุขภาพของไก่จะไม่แข็งแรง โรคจะแทรกได้ง่ายขึ้น นอกจากโรงเรือนที่สร้างโดยเน้นให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดีแล้วก็ตาม แต่จำนวนไก่ที่เลี้ยงอยู่ภายในโรงเรือนมีมาก เพื่อประหยัดการใช้พื้นที่และแรงงาน ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความร้อนภายในโรงเรือนสูงขึ้น จึงควรใช้พัดลมช่วยดันอากาศอีกทางหนึ่งก็ยิ่งเป็นผลดี
โปรแกรมแสงสว่าง การเลี้ยงไก่ไข่แสงสว่างมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มเมื่อไก่มีอายุ 6-22 สัปดาห์ โดยค่อย ๆ เพิ่มแสงให้สัปดาห์ละ 1/2-1 ชั่วโมง จนครบ 4 ชั่วโมง รวมแสงะรรมชาติอีก 12 ชั่วโมงต่อวัน รวมเป็น 16 ชั่วโมง จึงจะเพียงพอต่อความต้องการ เพื่อที่จะให้ได้ผลผลิตสูง หรืออายุการให้ไข่นานและจะใช้แสงเช่นนี้ไปจนกว่าไก่จะหมดไข่ หรือปลดจำหน่าย ในการปลดไก่ ผู้เลี้ยงไก่ไข่เพื่อการค้าจะเปิดแสงสว่างตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ไก่กินอาหารได้เต็มที่เป็นการเพิ่มน้ำหนักตัวก่อนการส่งตลาดนานประมาณ 7-10 วัน
ความชื้นสัมพัทธ์ (Rekatuve Humidity) ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมประมาณ 50-80 % ซึ่งถ้าความชื้นในอากาศต่ำ การระบายความร้อนออกจากร่างกายจะระบายได้ดีขึ้น ซึ่งประเทศไทยมักจะเจอปัญหาเรื่องความชื้นในฤดูฝน (ร้อน-ชื้น) ซึ่งทำให้การระบายความร้อนออกจากร่างกายไม่ดีนัก วิธีการลดความร้อนและความชื้นออกจากโรงเรือนใช้พัดลมระบายอากาศช่วยไล่ความร้อนและความชื้นออกจากโรงเรือน หรือใช้วัสดุมุงหลังคาที่สามารถสะท้อนความร้อนได้ดี และไม่เก็บสะสมความร้อน
การให้อาหารไก่ไข่ เป้าหมายสำคัญของอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่ต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด และมีประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ได้ไข่ 1 ฟองต่ำที่สุด อย่างไรก็ตามต้นทุนการผลิตไข่ 1 ฟอง เป็นค่าอาหารประมาณ 60% ดังนั้นจะมีผลเกี่ยวข้องไปถึงเรื่องอัตราการให้ไข่ และขนาดตัวของไก่ด้วย ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องเลือกสายพันธุ์ไก่ที่มีอัตราการให้ไข่ดกและขนาดตัวเล็กเพื่อประหยัดค่าอาหาร นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ฤดูกาลก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการกินอาหารและการให้ผลผลิตของไก่ไข่ ดังนั้นสูตรอาหารควรเปลี่ยนตามฤดูกาล เช่น ฤดูร้อนเปอร์เซ็นต์การให้ไข่ลดลง เปลือกไข่บาง เพราะกินอาหารได้น้อย จำเป็นต้องเพิ่มเปอร์เซ็นต์โปรตีนให้สูงขึ้น เพื่อให้ไก่ไข่ได้โปรตีนตามความต้องการของร่างกาย ทางตรงข้ามฤดูหนาวอากาศเย็น ไก่จะกินอาหารได้มากขึ้นเพื่อให้ได้ปริมาณพลังงานที่เพียงพอ เพื่อสร้างความอบอุ่นที่เป็นผลต่อร่างกาย ดังนั้นระดับเปอร์เซ็นต์โปรตีนควรลดลงเพื่อลดต้นทุนการผลิต

อายุการไข่ของไก่ไข่

ไก่ไข่พันธุ์ทางการค้าโดยทั่วไปจะเริ่มให้ไข่เมื่อประมาณ 21-22 สัปดาห์ และมีแนวโน้มว่าอายุการให้ไข่จะให้ไข่ที่อายุน้อยลง อนาคตคาดว่าไก่ไข่จะเริ่มให้ไข่ที่อายุ 19-20 สัปดาห์ ทั้งนี้เพราะความสามารถของนักปรับปรุงพันธุ์ เพื่อต้องการให้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำสุดและให้ผลผลิตเร็วที่สุด โดยทั่วไปไก่ไข่จะให้ไข่สูงสุดหลังจากอายุการไข่ประมาณ 8-12 สัปดาห์ หรือ 2-3 เดือน ซึ่งระยะการให้ไข่สูงสุด (Peak Production) จะยาวนานประมาณ 10-20 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดการและดูแล

วิธีการจัดการเพื่อให้ระดับการให้ไข่สูงสุด

ในการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อให้ไก่ไข่มีช่วงอายุการให้ไข่สูงสุดยืนอยู่ได้มากน้อยเพียงใด นอกจากจะต้องมีการจัดการเลี้ยงดูฝูงไก่ให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ตั้งแต่แรกจนถึงก่อนไข่แล้วยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เช่น
- ฤดูกาล ถ้าช่วงการให้ไข่สูงสุดตรงกับฤดูร้อน ย่อมทำให้ระยะการให้ไข่สูงสุดสั้นลง แนวทางแก้ไขคือ ปรับสูตรอาหารที่เหมาะสม ลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน
- สภาวะแวดล้อม ถ้าช่วงการให้ไข่สูง (Peak Production) ต้องเจอกับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหันบ่อย ๆ ย่อมทำให้ช่วงการให้ไข่สูงสุดสั้นลงเช่นกัน แนวทางแก้ไขควรติดตามการพยากรณ์อากาศอยู่เสมอ เพื่อที่จะหาทางป้องกันล่วงหน้าโดยให้ไก่ได้รับไวตามิน หรือยาปฏิชีวนะ
- การจัดการเรื่องอาหาร จะสังเกตได้ว่าในช่วงการให้ไข่สูงสุด ไก่จะกินอาหารเพิ่มมากขึ้นหากผู้เลี้ยงไก่ไข่เพิ่มปริมาณอาหารให้ได้มากขึ้นตามความต้องการขึ้นไปเรื่อย ๆ ย่อมทำให้ช่วงระยะเวลาของ Peak Production ยาวนานขึ้นเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นวันละน้อย ๆ 2-3 กรัม (ปกติให้โดยเฉลี่ยต่อประมาณ 110 กรัม) และเมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งที่ผู้เลี้ยงเพิ่มปริมาณอาหารมากขึ้น แต่เปอร์เซ็นต์การให้ไข่ไม่เพิ่มขึ้น ผู้เลี้ยงควรจะหยุดปริมาณอาหารที่จุดนั้น และถ้าเปอร์เซ็นต์การให้ไข่ลดลงผู้เลี้ยงก็ต้องลดปริมาณอาหารลงตามด้วย ซึ่งในที่สุดก็อยู่คงที่ ปริมาณการกินอาหารเฉลี่ยต่อตัวต่อวันประมาณ 110 กรัม
หมายเหตุ อายุการให้ไข่นับจากเริ่มไข่ 5% คือสัปดาห์ที่ 1 ของการให้ไข่และเมื่ออายุการไข่ 53 สัปดาห์ เปอร์เซ็นต์การให้ไข่จะต่ำลง ถึงจุดที่ผู้เลี้ยงไม่มีกำไรและปลดจำหน่ายในที่สุด

อัตราการไข่
ในการคิดคำนวณอัตราในการไข่ คิดได้ 2 วิธีคือ
1. Hen Day Production โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การไข่ของไก่ทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนั้น ๆ โดยไม่รวมไก่ไข่ที่ขายหรือคัดออกไปแล้ว
สูตรการคิดคือ จำนวนไก่ทั้งหมด x 100 = เปอร์เซ็นต์การไข่ของไก่ที่เหลือ
จำนวนไก่ที่เหลือขณะนั้น
สมมติว่ามีไก่ 1,000 ตัว ให้ไข่ต่อวัน 800 ฟอง
= 800 x 100 = 80%
1,000
2. Hen Housed Production โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การไข่ของทั้งหมดที่เริ่มจำนวนทั้งหมดที่นำเข้าโรงเรือนไก่ไข่
สูตรการคิดคือ จำนวนไข่ทั้งหมด x 100 = เปอร์เซ็นต์การให้ไข่ของไก่ทั้งหมด
จำนวนไก่ทั้งหมดที่เริ่มไข่
สมมติว่ามีไก่เริ่มต้นนำเข้าเพื่อให้ไข่ 1,000 ตัว ให้ไข่วันนี้ 850 ฟอง
= 800 x 100 = 85%
1,000
การหาอัตราของไข่โดยวิธี Hen Housed Production ทำให้ผู้เลี้ยงต้องใช้ความสามารถในด้านการจัดการเลี้ยงดูเพื่อมิให้ไก่ตาย หรือถูกคัดทิ้งออกมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการดำเนินกิจการ

ลักษณะของไก่ที่ไข่ดีและไข่ไม่ดี

การศึกษาถึงลักษณะของไก่ที่ไข่ดีและไข่ไม่ดี ยังคงมีความจำเป็นที่ผู้เลี้ยงจะต้องสังเกตดูลักษณะต่าง ๆ ของร่างกายที่ปรากฎให้เห็น ถึงแม้ว่าปัจจุบันไก่ไข่ทางการค้าจะให้ผลผลิตที่ค่อนข้างสูง แต่ก็มีไก่บางตัวในฝูงไม่ให้ไข่หรือกินอาหารฟรีแต่ไม่ให้ไข่ ถ้าผู้เลี้ยงคัดไก่ประเภทดังกล่าวออกย่อมทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง

ตารางเปรียบเทียบไก่ที่กำลังไข่ และไก่ที่หยุดไข่
ลักษณะไก่ที่กำลังไข่ไก่ที่หยุดไข่
หงอนและเหนียงแดงสดใส อ่อนนุ่ม มีขนาดใหญ่ซีดไม่สดใส หยาบ ตกสะเก็ด เล็กลง
นัยน์ตานูนเด่นสดใสไม่นูนเด่น ไม่สดใส
ขอบตา จงอยปาก (Eye-ring, Beak)ปรากฎเม็ดสี (Pigment) พวก Xantho PhyII
ขน (Plumage)แห้ง ขาด ไม่เงางามเป็นมันเงางาม
แข้งขาวซีดปรากฎสีเหลืองให้เห็น
ก้น (Vent)เปียกชุ่ม ขยายกว้าง อ่อนนุ่มปรากฎสีเหลือง แห้ง เล็ก หยาบ
กระดูกเชิงกราน (Pubic Bones)ขยายกว้างเกินกว่า 2-3 นิ้วมือแคบเข้าหากัน
ช่องท้อง (Abbomen)ลึกและกว้างเกินกว่า 3-4 นิ้วตื้นและแคบน้อยกว่า 3 นิ้วมือ

ตารางเปรียบเทียบไก่ที่ให้ไข่นาน และให้ไข่ไม่นาน
ลักษณะไก่ไข่นานไก่ไข่ไม่นาน
ระยะการให้ไข่ (Laying Peirod)ไข่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน (ตับไข่ถี่) และหยุดไข่เพียงระยะ 1-2 วันไข่ติดต่อกันไม่นาน (ตับไก่ห่าง) และหยุดไข่หลายวัน หรือไข่ 1 วัน เว้น 1 วัน ไข่ 3 วัน หยุด 4 วัน เป็นต้น
ขน (Plumage)แห้ง ขาดรุ่งริ่ง ไม่เรียบร้อย แนบชิดลำตัวสะอาด หลวม
เวลาผลัดขนเริ่มผลัดขนช้า และผลัดอย่างรวดเร็วเริ่มผลัดขนเร็วและใช้เวลาในการผลัดขนนาน

ข้อเปรียบเทียบไก่ที่ให้ไข่ดก และไก่ที่ให้ไข่ไม่ดก
ลักษณะไก่ไข่ดกไก่ไข่ไม่ดก
ความลึกของลำตัวลึกประมาณ 3-4 นิ้วมือลำตัวตื้นน้อยกว่า 3-4 นิ้วมือ
แข้งเป็นเหลี่ยมเป็นมุมแข้งค่อนข้างกลม
หนังอ่อนนุ่ม บางและหลวมแข็ง หนา หยาบมีไขมันมาก
นัยน์ตานูนเด่น สดใสไม่นูนเด่น ขุ่นมัว
ก้นเปียกชุ่ม ขยายใหญ่ ปลิ้นออกง่ายไม่ค่อยเปียกชุ่ม ปลิ้นออกยาก
หงอนและเหนียงใหญ่ แดงสดใส และอ่อนนุ่มเล็ก ไม่สดใส และไม่ค่อยอ่อนนุ่ม
กระดูกเชิงกรานชี้ตรง และกว้างชี้เข้าหากัน และหนา
ผิวหนังอ่อนนุ่ม บาง หลวมหนา ไขมันมาก
หน้าเล็ก หนังที่หน้าไม่หยาบอ้วน หนังที่หน้าหยาบ
เม็ดสี Pigment ที่ปรากฎตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะจางไปตามจำนวนไข่ที่ได้จะจางหายไปน้อยกว่าจำนวนไข่ที่ควรจะได้

การเลี้ยงสุกร

    การเลี้ยงสุกร

    ปัจจุบันการเลี้ยงสุกรในประเทศไทยได้มีการพัฒนาการด้านพันธุ์อาหารสัตว์ การจัดการและการสุขาภิบาล
    จนทัดเทียมกับต่างประเทศ การเลี้ยงสุกรภายในประเทศ แม้จะมีฟาร์มใหญ่ ๆ แต่ก็ยังมีเกษตรกรรายย่อย
    ที่ทำการเลี้ยงสุกรรายละ 1-20 ตัว ตามหมู่บ้านอยู่เป็นจำนวนมาก เกตรกรรายย่อยดังกล่าวจำเป็นจะต้องได้
    รับความรู้ในด้านการเลี้ยงสุกรอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้นำไปพัฒนาการเลี้ยงสุกรอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้นำไป
    พัฒนาการเลี้ยงสุกรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำรายได้ให้กับครอบครัว และยังจะได้ประโยชน์ใน
    การใช้ทรัพยากรให้ได้ผลดีด้วย

    ปัจจัยที่จะทำให้การเลี้ยงสุกรประสบความสำเร็จประกอบด้วย

    สุกรพันธุ์ดี อาหารดี โรงเรือนดี การจัดการเลี้ยงดูดี การป้องกันโรคดี

    เหตุผลในการเลี้ยงสุกร

    - สุกรสามารถเลี้ยงได้ในจำนวนน้อย เป็นฟาร์มเล็ก ๆ

    - ในการเลี้ยงสุกรต้องการพื้นที่เพียงเล็กน้อย

    - การเลี้ยงสุกรใช้แรงงานน้อย เลี้ยงง่าย

    - ใช้เศษอาหารและของเหลือต่าง ๆ เป็นอาหารสุกรได้

    - มูลสุกรใช้เป็นปุ๋ยอย่างดี และใช้กับบ่อเลี้ยงปลา เพื่อเพิ่มผลผลิตของการเลี้ยงปลา

    - สุกรให้ลูกดก ขยายพันธุ์ได้เร็ว

    - การเลี้ยงสุกรเป็นกิจการที่ให้ผลกำไรดี สามารถคืนทุนได้ภายในเวลา 6 เดือน

    การเลี้ยงดูสุกร

    การจัดการพ่อสุกร

    พ่อสุกรที่จะนำมาใช้เป็นพ่อพันธุ์ ควรมีอายุ 8 เดือนขึ้นไป ให้อาหารโปรตีน 16 % ให้กินอาหารวันละ
    2 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับสภาพของพ่อสุกรด้วยว่าไม่อ้วนและผอมเกินไป

    การจัดการแม่สุกร

    ให้อาหารโปรตีน 16% ให้กินอาหารวันละ 2 กิโลกรัม แม่สุกรสาวควรมีอายุ 7-8 เดือน น้ำหนัก 100-120
    กิโลกรัม จึงนำมาผสมพันธุ์ (เป็นสัดครั้งที่ 2-3) ผสมพันธุ์ 2 ครั้ง (เช้า-เช้า , เย็น-เย็น) เมื่อผสมพันธุ์แล้วควรลด
    อาหารให้เหลือ 1.5-2 กิโลกรัม เมื่อตั้งท้องได้ 90-108 วัน ควรเพิ่มอาหารเป็น 2-2.5 กิโลกรัม และเมื่อตั้งท้องได้
    108 วันคลอดลูก ให้ลดอาหารลงเหลือ 1-1.5 กิโลกรัม (ปกติสุกรจะตั้งท้องประมาณ 114 วัน) แม่สุกรควรอยู่ใน
    สภาพปานกลาง คือ ไม่อ้วน หรือผอมเกินไป แม่สุกรจะให้ลูกดีที่สุดในครอกที่ 3-5 และควรคัดแม่สุกรออกใน
    ครอกที่ 7 หรือ8 (แม่สุกรให้ลูกเกินกว่าครอก ที่ 7 ขึ้นไป มักจะให้จำนวนลูกสุกรแรกคลอด มีชีวิต และจำนวน
    สุกรหย่านมลดลง)

    การจัดการแม่สุกรก่อนคลอด

    ระวังอย่าให้แม่สุกรเจ็บป่วยหรือท้องผูก ควรจัดการ ดังนี้

    - แม่สุกรก่อนคลอด 7 วัน ให้อาบน้ำด้วยสบู่ทำความสะอาดแม่สุกร โดยเฉพาะราวนม บั้นท้าย อวัยวะเพศ
    แล้วพ่นอาบด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (ละลายน้ำ ตามอัตราส่วน) และพ่นยาพยาธิภายนอก แล้วนำเข้าคอกคลอด

    - ก่อนแม่สุกรคลอด 4 วัน ควรลดอาหารลงเหลือ 1-1.5 กิโลกรัม/วัน ควรผสมรำละเอียดเพิ่มอีก 20 %
    ในอาหาร โดยให้แม่สุกรกิน 4-6 วันก่อนคลอด หรือผสมแม็กนีเซียมซัลเฟต (ดีเกลือ) ประมาณ 10 กรัม โดยคลุก
    อาหารให้ทั่วให้แม่สุกรกินวันละครั้ง 1-3 วันก่อนคลอด เพื่อป้องกันแม่สุกรท้องผูก ช่วยลดปัญหาแม่สุกรคลอดยาก

    - ดูแลแม่สุกรอย่างใกล้ชิด อย่าให้แม่สุกรป่วย เช่น สังเกตรางอาหารว่าแม่สุกรกินอาหารหมดหรือไม่
    ถ่ายอุจจาระเป็นเม็ดกระสุน ท้องเสีย หอบแรง เป็นต้น ถ้าแม่สุกรป่วยก็ควรรักษาตามอาการ

    - คอกคลอด ก่อนนำแม่สุกรเข้าคอกคลอด คอกคลอดต้องสะอาด ราดหรือพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
    และโรยปูนขาว ต้องมีอาการพักคอกไว้อย่างน้อย 7 วัน ซึ่งจะเป็นการตัดวงจรของเชื้อโรค

    การจัดการลูกสุกรเมื่อคลอด

    แม่สุกรก่อนคลอด 24 ชั่วโมง จะมีน้ำนมไหลออกมาจากเต้านม ลูกสุกรแรกคลอดควรดูแลปฏิบัติ ดังนี้

    - ใช้ผ้าที่สะอาดหรือฟางเช็ดตัวลูกสุกรให้แห้ง ควักเอาน้ำเมือกในปากและในจมูกออก

    - การตัดสายสะดือ ใช้ด้ายผูกสายสะดือให้ห่างจากพื้นท้องประมาณ 1-2 นิ้ว ตัดสายสะดือด้วยกรรไกร
    ทารอยแผลด้วยทิงเจอร์ไอโอดีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค

    - ตัดเขี้ยวออกให้หมด (เขี้ยวมี 8 ซี่ ข้างบน 4 ซี่ ข้างล่าง 4 ซี่ ) เพื่อป้องกันลูกสุกรกัดเต้านมแม่สุกรเป็น
    แผลในขณะแย่งดูดนม

    - รีบนำลูกสุกรกินนมน้ำเหลืองจากเต้านมแม่สุกรในนมน้ำเหลืองจะมีสารอาหาร และภูมิคุ้มกันโรค
    ปกตินมน้ำเหลืองจะมีอยู่ประมาณ 36 ชั่วโมง หลังคลอด จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมธรรมดา

    การจัดการลูกสุกรแรกคลอด-หย่านม

    - ลูกสุกรในระยะ 15 วันแรก ต้องการความอบอุ่น

    - ลูกสุกรอายุ 1-3 วัน ให้ฉีดธาตุเหล็กเข้ากล้ามเนื้อตัวละ 2 ซี.ซี เพื่อป้องกันโรคโลหิตจาง

    - ลูกสุกรอายุ 10 วัน เริ่มให้อาหารสุกรนมหรืออาหารสุกรอ่อน (อาหารเลียราง) เพื่อฝึกให้ลูกสุกรกินอาหาร
    โดยให้กินทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง

    - ลูกสุกรทั่วไปหย่านมเมื่ออายุ 28 วัน (4 สัปดาห์)

    การจัดการลูกสุกรเมื่อหย่านม

    - หย่านมลูกสุกรเมื่ออายุ 28 วัน น้ำหนักประมาณ 6 กิโลกรัม ควรย้ายแม่สุกรออกไปก่อนให้ลูกสุกรอยู่
    ในคอกเดิมสัก 3-5 วัน แล้วจึงย้ายลูกออกไปคอกอนุบาล เพื่อป้องกันลูกสุกรเครียด และควรใช้วิตามินหรือยา
    ปฏิชีวนะละลายน้ำให้ลูกสุกรกินหลังจากหย่านมประมาณ 3-5 วัน

    - ลูกสุกรอายุ 6 สัปดาห์ ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกรและฉีดวัคซีนซ้ำทุก ๆ 6 เดือน ในสุกรพ่อแม่พันธุ์
    (วัคซีนมีความคุ้มโรคได้ประมาณ 6-12 เดือน)

    - ลูกสุกรอายุ 7 สัปดาห์ ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย่ และฉีดวัคซีนซ้ำทุก ๆ 4-6 เดือน
    ในสุกรพ่อแม่พันธุ์ (วัคซีนมีความคุ้มโรคได้ประมาณ 4-6 เดือน)

    - ลูกสุกรอายุ 2 เดือนครึ่ง ควรให้ยาถ่ายพยาธิ และให้ซ้ำหลักจากให้ครั้งแรก 21 วัน ในสุกรพ่อแม่พันธุ์
    ควรถ่ายพยาธิทุก ๆ 6 เดือน

    การจัดการแม่สุกรหลังคลอด

    - ฉีดยาปฏิชีวนะ ให้แม่สุกรหลังคลอดทันทีติดต่อกันเป็นเวลา 1-2 วัน เพื่อป้องกันมดลูกอักเสบ
    (ยาเพนสเตร็ป, แอมพิซิลิน, เทอร์รามัยซิน เป็นต้น

    - หลังคลอด 1-3 วัน ควรให้อาหารแม่สุกรน้อยลง(วันละ 1-2 กิโลกรัม) และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
    จนให้อาหารเต็มที่เมื่อหลังคลอด 14 วัน (ให้อาหารวันละ 4-6 กิโลกรัม) จนกระทั่งแม่สุกรหย่านม
    ระวังอย่าให้แม่สุกรผอมเมื่อหย่านม ซึ่งจะมีผลทำให้แม่สุกรไม่สมบูรณ์พันธุ์ และโทรมมาก แม่สุกรหลัง
    หย่านมควรขังรวมกันคอกละประมาณ 2-5 ตัว (ขนาดใกล้เคียงกัน) เพื่อให้เกิดความเครียดจะเป็นสัดง่าย
    และจะเป็นสัดภายใน 3-10 วัน ถ้าแม่สุกรเป็นสัดทำให้การผสมพันธุ์ได้เลย

    - ปัญหาแม่สุกรไม่เป็นสัด สุกรสาวหรือเม่สุกรหลังจากหย่านมแล้วไม่เป็นสัด หรือเป็นสัดเงียบ
    จะพบเห็นได้บ่อย ๆ มีวิธีแก้ไข ดังนี้

    1. ต้อนแม่สุกรมาขังรวมกัน เพื่อให้เกิดความเครียด

    2. เลี้ยงพ่อสุกรอยู่ใกล้ ๆ หรือให้พ่อสุกรเข้ามาสัมผัสแม่สุกรบ้าง

    การผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ลูกดก

    1. คัดเลือกสายแม่พันธุ์ เช่น ควรใช้แม่พันธุ์ เช่น ควรใช้แม่พันธุ์ลาร์จไวท์ แม่พันธุ์แลนด์เรซ
    หรือลูกผสมแลนด์เรซ-ลาร์จไวท์

    2. ผสมเมื่อแม่สุกรเป็นสัดเต็มที่ ซึ่งจะทำให้ไข่ตกมากจะอยู่ช่วงวันที่ 2-3 ของการะเป็นสัด
    ผสม 2 ครั้ง ห่างกัน 24 ชี่วโมง (เช้า-เช้า , เย็น-เย็น)

    3. ถ้ามีพ่อสุกรหลายตัว และผลิตสุกรขุนเป็นการค้าควรใช้พ่อสุกร

    4. แม่สุกรหลังจากหย่านมแล้ว 1 วัน ควรเพิ่มอาหารให้จนกระทั่งเป็นสัด โดยให้อาหารวันละ
    3-4 กิโลกรัม (ไม่เกิน 15 วัน) เพื่อทำให้ไข่ตกมากขึ้น และเมื่อผสมพันธุ์แล้ว ให้ลดอาหารแม่สุกรลงเหลือ
    วันละ 1.5-2 กิโลกรัม ตามปกติ

    การให้อาหารสุกร

    สุกรเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยว ไม่สามารถย่อยอาหารที่มีเยื่อใยมากได้ดีเหมือนสัตว์กระเพาะรวม
    (โค กระบือ) ระบบการย่อยอาหารที่มีหน้าที่ย่อยอาหารที่สุกรกินเข้าไปให้แตกตัวจนมีขนาดเล็กลง
    เพื่อสามารถดูดซึมไปใช้เสริมสร้างส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สุกรมีความต้องการโภชนะนั้น หมายถึง
    สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายประกอบด้วย 6 ชนิด

    - น้ำ ให้น้ำสะอาดแก่สุกรตลอดเวลา ปกติสุกรจะกินน้ำประมาณ 5-20 ลิตรต่อวัน ตามขนาดของสุกร

    - โปรตีน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสุกร ช่วยสร้างเนื้อเยื่อและเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญ
    ของร่างกายสัตว์ โปรตีนประกอบด้วย กรดอะมิโนอยู่ประมาณ 30 ชนิด กรดอะมิโนที่จำเป็น 10 ชนิด ได้แก่
    ไลซีน เมทไธโอนีน ทริพโตแฟน อาร์ยินิน ฮิสทิดีน ไอโซลูซีน ลูซีน อาลานีน ทรีโอนีน และวาลีน

    - คาร์โบไฮเดรท เป็นอาหารที่ให้พลังงานที่เรียกง่าย ๆ ว่าอาหารแป้งและน้ำตาล รวมไปถึงเยื่อใยี่
    เป็นส่วนประกอบในวัตถุดิบอาหารสัตว์

    - ไขมัน เป็นอาหารที่ให้พลังงาน เช่น เดียวกับคาร์โบไฮเดรด แต่ให้พลังงาน

    - แร่ธาตุ แร่ธาตุเป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุด สำหรับการทำงานของร่างกาย มีหน้าที่เสริมสร้างกระดูก
    และต้านโรค ในร่างกายสุกรมีแร่ธาตุ มากกว่า 40 ชนิด ส่วนที่จำเป็นและสำคัญต่อร่างกาย ได้แก่ แคลเซียม
    ฟอสฟอรัส โซเดียม คลอรีน เหล็ก ทองแดง ไอโอดีน กำมะถัน สังกะสี แมงกานีส โคบอลท์ โปตัสเซียม
    แมกนีเซียม และซิลิเนียม

    - ไวตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต ไวตามินมีมากถึง
    50 ชนิด ส่วนที่จำเป็นในร่างกายสัตว์ ได้แก่ ไวตามิน เอ ดี อี บี 2 (ไรโบฟลาวิน) ไนอาซีน กรดแพนโทธินิค
    โคลีน ไบโอติน และบี 12 เป็นต้น

ปัทมาฟาร์ม

เราเป็นผู้จัดจำหน่ายอาหารสัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นอาหารสุกร ไก่เนื้อ ไก่ไ่ข่ อาหารวัวเนื้อและนม อีกทั้งยังมีอาหารสุนัขและแมว ปลาสวยงาม ปลาุกินเืนื้อและกินพืชทุกชนิด ทั้งนี้เรายังเป็นตัวแทนจำหน่ายยาสำหรับรักษาสัตว์อีกด้วย และจากประสบการณ์กว่า 10 ปี จึงทำให้เป็นที่ไว้วางใจสำหรับลูกค้าเสมอมา สำหรับผู้ที่่ต้องการติดต่อเราติดต่อได้ที่ 089-8119389 ครับ